วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2558

การป้องกันและกำจัดเชื้อโรคของร่างกาย


การป้องกันและกำจัดเชื้อโรคของร่างกาย

โดยปกติแล้วร่างกายของคนเรา มีกลไกในการป้องกันและกำจัดเชื้อโรคอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งเปรียบเสมือนกับกำแพงเมือง ด่าน หรือป้อมปราการที่สร้างไว้สำหรับเป็นเครื่องกีดขว้าง สกัดกั้นหรือดักจับทำลายเชื้อโรค เพื่อไม่ให้เข้าไปทำอันตรายเซลล์ เนื้อเยื่อ หรืออวัยวะที่ทำหน้าที่สำคัญๆ ภายในร่างกายจนเกิดเป็นโรคร้ายแรงได้ ด่านหรืออวัยวะที่ช่วยป้องกันและกำจัดเชื้อโรคโดยอัตโนมัตินั้นมีอยู่ทั้งหมด 3 ด่านด้วยกันคือ

ด่านที่ 1: ผิวหนัง

ผิวหนังมีแนวป้องกัน คือ สารเคมีที่เซลล์ผิวหนังสร้างขึ้นแล้วขับออกมาทางรูเปิดของขุมขนและรูเปิดของต่อมต่างๆ เช่น เหงื่อ น้ำมัน น้ำมูก น้ำตา เป็นต้น ซึ่งสารเหล่านี้มีเกลือปนอยู่ หรือมีสภาพเป็นกรดอ่อนๆ ถึงแม้ว่าสารเหล่านี้จะไม่มีฤทธิ์หรือไม่สามารถทำลายเชื้อโรคที่สัมผัสได้ แต่ก็สามารถช่วยซะล้างหรือกำจัดเชื้อโรคให้หลุดออกไปได้


ภาพแสดงลักษณะและส่วนประกอบของผิวหนังตัดตามขวาง

ด่านที่ 2: แนวป้องกันโดยทั่วไป

ถึงร่างกายจะมีกำแพงป้องกันที่แข็งแรงหนาแน่นเพียงใด แต่เชื้อโรคก็สามารถที่จะเล็ดลอดเข้าสู่ร่างกายและทำอันตรายต่อเซลล์ภายในได้ ทั้งนี้อาจเกิดขึ้นจากความรุนแรงของเชื้อโรคเอง หรือสภาวะร่างกายอ่อนแอ ตลอดจนการมีบาดแผลเกิดขึ้นกับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เชื้อโรคเหล่านี้ก็จะสามารถฝ่าแนวป้องกันด่านแรกเข้าไปภายในร่างกายและทำอันตรายต่อเซลล์ได้ เซลล์ที่ได้รับอันตรายจะได้ขับสารเคมีเพื่อส่งสัญญาณไปกระตุ้นกระบวนการตอบสนองที่ทำให้เกิดอาการอักเสบ(inflammation) ขึ้น และกระบวนการอักเสบนี้เอง ที่จะทำหน้าที่เป็นเสมือนด่านสกัดกั้นชั้นที่สองของร่างกายที่จะช่วยป้องกันและต่อต้านเชื้อโรคทุกชนิดโดยไม่เฉพาะเจาะจง จึงเรียกด่านที่สองนี้ว่าเป็น แนวป้องกันโดยทั่วไปของร่างกาย ในกระบวนการอักเสบนี้ ร่างกายจะขับของเหลวและเซลล์เม็ดเลือดขาวทำหน้าที่กำจัดเชื้อโรค เซลล์เม็ดเลือดขาวมีหลายรูปแบบที่รวมกันเรียกว่า ฟาโกไซต์(phagocyte) สามารถออกจากหลอดเลือดเข้าสู่เนื้อเยื่อบริเวณใกล้ๆนั้น แล้วเซลล์ฟาโกไซต์แต่ละเซลล์ก็จะโอบรอบเชื้อโรคเพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นๆ จากนั้นก็ทำรายเชื้อโรคต่อไป


ภาพแสดงกระบวนการกำจัดเชื้อโรคของเซลล์เม็ดเลือดขาวพวกฟาโกไซต์

ด่านที่3 : ระบบภูมิคุ้มกัน

เมื้อเชื้อโรคสามารถผ่านด่านที่สองได้แล้ว จะมีการกระตุ้นหน่วยป้องกันพิเศษ ไม่ว่าสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาจะทำให้เกดอาการเป็นไข้หรือไม่ก็ตาม ก็จะมีการตอบสนองแบบจำเพาะนี้เสมอ ซึ่งเป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันเฉพาะโรคหนึ่งโรคใดที่เคยสัมผัสเท่านั้น เชื้อโรคบางชนิดจะมีโมเลกุลประจำเซลล์เรียกว่า แอนติเจน(antigen) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารพวกโปรตีน เมื่อเข้าสู่ร่างกายคน เซลล์เม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า ฟาโกไซต์ จะเข้าจับกินเชื้อโรคนั้น ทำให้แอนติเจนของเชื้อโรคปรากฏอยู่บนผิวของฟาโกไซต์และไปกระตุ้นเซลล์เดเลือดขาวกลุ่ม ลิมโฟไซต์(lymphocyte) ชนิดเซลล์ที (T cell) ให้จำแนกแอนติเจนนี้ แล้วส่งสัญญาณต่อไปยัง เซลล์บี(B cell) ทำให้เซลล์บีมีการแบ่งเซลล์ส่วนหนึ่งพัฒนาเป็น เซลล์เม็ดเลือดขาวอีกชนิด คือ เซลล์พลาสมา(plasma cell) ซึ่งจะทำหน้าที่สร้าง แอนติบอดี(antibody) ไปจับกับแอนติเจนบนผิวเซลล์ของเชื้อโรคทำให้เชื้อโรคนั้นหมดฤทธิ์และถูกเม็ดเลือดขาวจับกินทำลายได้ง่ายขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น